เคล็ดลับดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ให้อยู่กันไปนานๆ
ดูแลเครื่องพรินเตอร์ให้สะอาดอยู่เสมอ
การเอาใจใส่เรื่องการรักษาความสะอาดพรินเตอร์เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้เกิดการอุดตันของหัวพิมพ์พรินเตอร์ได้ สาเหตุที่ทำให้อุดตันกส่วนหนึ่งก็มาจากฝุ่น ขนสัตว์ ซากสัตว์ (จิ้งจก แมลงสาป)
ซื้อพรินเตอร์มาใช้ ก็ใช้บ้าง
พรินเตอร์ทุกตัวสามารถป้องกันปัญหางานพิมพ์ไม่ได้ดั่งใจด้วยการหมั่นใช้งานมันบ่อยๆ หรืออย่างน้อยใช้พรินเตอร์พิมพ์งานบ้าง เสียงบ่นบ่อยๆ เรื่องงานพิมพ์มีคุณภาพต่ำโดยเฉพาะปัญหาที่พิมพ์ออกมาแล้วเป็นลายๆ ขาดๆ หายๆ หรือที่แย่ที่สุดคือ ออกมาเป็นกระดาษเปล่านั้น เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาชวนหงุดหงิดดังกล่าวด้วยการหมั่นใช้งานพรินเตอร์บ่อยๆ
คำแนะนำ คือถ้าไม่มีงานพิมพ์นานๆ ควรเปิดเครื่องพรินเตอร์ทุกวันอย่างน้อยวันละ 10 นาที และควรทดสอบการพิมพ์ อย่างน้อยสัปดาห์ 1-2 ครั้ง(ในกรณีที่ไม่ใช้เครื่องนาน) เพื่อให้งานพิมพ์ออกมาดีอยู่เสมอ
การเก็บรักษาพรินเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน
เมื่อไม่มีการใช้เครื่องพรินเตอร์เป็นเวลานานๆ เครื่องพรินเตอร์จำเป็นต้องถูกเก็บไว้ในสภาพที่มีตลับหมึกอยู่ในเครื่องด้วย ไม่ว่าตลับหมึกจะมีหรือไม่มีหมึกเหลือเลยก็ตาม เพราะการนำตลับหมึกออกจะเป็นการเปิดให้อากาศเข้ามา ทำให้ท่อทางเดินน้ำหมึกแห้ง หากจำเป็นที่จะต้องมีการเก็บเครื่องพรินเตอร์ไว้โดยไม่ใช้งานเป็นเวลานาน
รักษาสุขภาพของพรินเตอร์ให้ดี
การบำรุงรักษาเครื่องพรินเตอร์อย่างสม่ำเสมอจะเป็นการลดปัญหาการทำงานที่ผิดปกติของเครื่องพรินเตอร์ ซึ่งบางอย่างเราสามารถทำได้ง่ายๆ เช่น การหมั่นกำจัดเศษกระดาษและเศษฝุ่นผงทั้งหลาย อย่างที่เราคงนึกภาพออกว่ากระดาษแต่ละแผ่นที่เราป้อนเข้าสู่เครื่องพรินเตอร์เป็นปริมาณมากมายจะทิ้งเศษสิ่งไม่พึงประสงค์ไว้ในพรินเตอร์มากขนาดไหน การทำความสะอาดด้วยการดูดเศษผงและฝุ่นออกด้วยเครื่องดูดฝุ่น จะช่วยให้เครื่องพรินเตอร์ของเราสามารถป้อนกระดาษได้อย่างไม่ติดขัดเพราะ Roller ของมันสะอาดปราศจากสิ่งสกปรกนั่นเอง
การทำความสะอาด Roller ที่ใช้ดึงกระดาษ
ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดทำความสะอาดช่องทางเดินกระดาษ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยล้างคราบหมึกและสิ่งสกปรกที่ติอยู่บนลูกกลิ้งกระดาษได้แล้ว
ควรปิดเปิดเครื่องพิมพ์ด้วยสวิตซ์
ดีกว่าถอดปลั๊กไฟ การปิด-เปิด เครื่องพิมพ์ควรทำที่สวิตซ์ของเครื่องเสมอ เพราะเครื่องพิมพ์จะเก็บและทำความสะอาดหัวหมึกหลังจากกดสวิตซ์ปิดที่ตัวเครื่อง ไม่ควรใช้ถอดปลั๊กหรือปิดสวิตซ์ปลั๊กไฟเนื่องจากจะทำให้เครื่องพิมพ์เสียเร็วขึ้น
หมั่นอัพเดทไดรเวอร์และซอฟต์แวร์ของเครื่องพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ
เพราะซอฟต์แวร์ (รวมไปถึงไดรเวอร์) ใหม่ๆ จะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเวอร์ชันก่อนๆ และในบางครั้งก็มีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอีกด้วย
ไม่ควรนำหมึกต่างยี่ห้อมาเติม
แน่นอนถึงจะพรินต์ได้ก็จริง แต่จะทำให้ตลับหมึกอุดตันได้รวดเร็วขึ้น แถมหมึกเติมที่ไม่ได้คุณภาพ อาจทำให้หัวพิมพ์เสียหายได้อีกด้วย
ควรเปลี่ยนน้ำหมึกเมื่อมันเตือนว่าหมด
หลายคนยังฝืนที่จะพิมพ์ต่อ ถึงแม้ว่าไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์ จะขึ้นเตือนว่าหมึกหมดแล้วก็ตาม อย่างเช่น ในกรณีที่หมึกสีหมด แต่ก็ยังจะฝืนพิมพ์งานขาว-ดำ ต่อ เพราะคิดว่าหมึกดำยังเหลือ ไม่ได้ใช้หมึกสี ก็ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ในความเป็นจริง ถึงแม้ว่าหมึกพิมพ์สีจะไม่ได้ใช้ แต่ความร้อนที่หัวพิมพ์ก็ยังคงมีอยู่ ยิ่งเมื่อเราฝืนพิมพ์ จะทำให้ความร้อนที่หัวพิมพ์เพิ่มมากขึ้น เพราะไม่มีน้ำหมึกมาหล่อเลี้ยง ซึ่งอาจมีผลให้เครื่องพิมพ์เสียหายได้
ใช้อุปกรณ์คุมไฟ
อาทิเช่น UPS หรือ Stabilizer เพื่อป้องกันไฟกระชาก ไฟตก ไฟเกิน